
PES Quality Control
กว่า 20 ปีที่ผ่านมา แบตเตอรี่ชาร์จ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ แบตเตอรี่ ลิเทียม ไอออน ได้รับการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการให้พลังงานที่มากขึ้น การจ่ายกระแสไฟฟ้าได้มากขึ้น รอบความสามารถในการชาร์จที่มากขึ้น และความคงทนของแบตเตอรี่ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ในปัจจุบัน แบตเตอรี่ ลิเทียม ไอออน ใช้เป็นปัจจัยพลังงานในอุตสาหกรรมอิเลคโทรนิคชนิดพกพา มากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะใน อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน เครื่องมือการแพทย์ อุปกรณ์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม หรือ อุปกรณ์สื่อสาร และรถยนต์
แม้ว่าโอกาสในการเสียหายจะมีไม่มากจากแบตเตอรี่ ลิเทียม ไอออน ก็ยังมีพบในหลายๆสื่อว่ามีการระเบิดเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการละลายของแบตเตอรี่ หรือการระเบิดของแบตเตอรี่เอง เราจึงได้ตระหนักว่า การทดสอบมาตรฐานอย่างเข้มงวดของแบตเตอรี่ก่อนถึงมือลูกค้าเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อจะควบคุมความเสี่ยงนการเกิดความเสียหายของอุปกรณ์นั้นๆ
หลายๆโรงพยาบาล ศูนย์เครื่องมือแพทย์ในประเทศไทย ได้มีการจัดซื้อ แบตเตอรี่แพ็ก ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหม้อ คลองถม หรือที่อื่นๆ ในการประกอบแบตเตอรี่แพ็กเพื่อใช้กับเครื่องมือแพทย์ต่างๆ อีกทั้งยังมีบริษัทผู้ให้บริการจัดหาแบตเตอรี่แพ็กในประเทศ ซึ่งยังคงใช้วิธีการประกอบแบตเตอรี่ด้วยตนเอง โดยการวัดกระแส และแรงต้านทานของแต่ละเซลล์ แต่ไม่มีการตรวจสอบคุณภาพของแบตเตอรี่โดยรวม
การตรวจสอบคุณภาพของ พี อี เอส แบตเตอรี่
การตรวจสอบคุณภาพของ PES Battery มีกระบวนการหลัก อยู่ 4 ขึ้นตอน
- IQC Inspection: การทดสอบ incoming cell แต่ละชิ้น ผ่านเครื่องตรวจสอบกระแสไฟฟ้า และค่าประจุของแต่ละเซลล์ โดยเราจะทำการตรวจสอบ Incoming Cell 100%
- Performance Test: คือการตรวจสอบวัดค่าความสามารถการจ่ายไฟของแต่ละเซลล์ของแบตเตอรี่ โดยเราจะทำการตรวจสอบ Performance ของเซลล์แต่ละเซลล์ 100%
- IPQC Inspection: ทำการตรวจสอบแรงต้านทาน และการแยกจำพวกของแรงต้านทานของแต่ละเซลล์ ก่อนการประกอบรวม โดยเราจะทำการตรวจสอบ IPQC 100%
- OPQC Inspection: การตรวจสอบค่าต่างๆของแบตเตอรี่โดยรวม ก่อนการจัดเก็บเข้า warehouse โดยเราจะทำการตรวจสอบ Finished Products 100%
นอกจากการตรวจสอบคุณภาพของแบตเตอรี่อย่างเข้มงวดแล้วนั้น PES Battery ยังมีระบบการทดสอบตามมาตรฐาน UL1642 ว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยของแบตเตอรี่ ดังนี้
Electrical Tests
- External Short Circuit Test: คือการทดสอบการช๊อตกระแสไฟฟ้าขั้วบวกและขั้วลบ บริเวณขั้วของแบตเตอรี่ เพื่อการตรวจสอบการทนต่อสภาพกระแสไฟฟ้ากระชาก เพื่อไม่ให้เกิดโอกาสในการระเบิดเวลาใช้งาน
- Abnomal Charging Test: คือการทดสอบการใช้กระแสไฟฟ้าที่เกินกำหนด ในระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น เพื่อการตรวจสอบความคงทนต่อการระเบิดหรือการลุกไหม้
- Forced Discharged Test: คือการวัดค่าคุณลักษณะของแบตเตอรี่เมื่อต่อพ่วงแบตเตอรี่ที่ไม่มีกระแสไฟเข้ากับกลุ่มของแบตเตอรี่แพ็ก เพื่อให้กระแสไฟในชุดแบตเตอรี่ไม่สมบูรณ์และเกิดการช๊อตวงจร เป้าหมายคือการตรวจสอบว่าไม่มีเซลล์แบตเตอรี่ตัวใดที่จะระเบิดหรือเกิดไฟลุกไหม้
Mechanical Tests
- Crush Test: คือการตรวจสอบความสามารถของเซลล์แบตเตอรี่ในการทนต่อการบดทับอย่างแรง (12 KN) โดยเหล็กหน้าแบน ตามการทดสอบ Crush Method มาตรฐาน SAE J2464 และรวมถึงการทดสอบโดยการบดทับของแท่งเหล็ก ทั้งนี้ การที่จะผ่านการทดสอบได้ แบตเตอรี่จะต้องไม่ระเบิด หรือมีประกายไฟ
- Impact Test : คือการวัดความสามารถของเซลล์แบตเตอรี่ ในการทนทานต่อแรงกระแทกด้วยแท่งเหล็กกลม โดยการที่จะผ่านการทดสอบได้ แบตเตอรี่จะต้องไม่ระเบิด หรือมีประกายไฟ
- Shock Test: จะทำการทดสอบโดยเครื่องทดสอบที่ได้รับการตั้งค่าการเหวี่ยงเซลล์แบตเตอรี่อย่างรวดเร็วในระยะเวลาตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ เพื่อวัดค่าว่า เซลล์ของแบตเตอรี่จะไม่ระเบิด มีประกายไฟ หรือการรั่วซึม
- Vibration Test: การทดสอบ Vibration Test คือการส่งแรงสั่นสะเทือนในค่ามาตรฐานการตรวจสอบ ที่ความถี่และระยะเวลาที่กำหนด เพื่อตรวจสอบว่า เมื่อมีแรงสั่นสะเทือนกระทำต่อเซลล์แบตเตอรี่ จะไม่มีการระเบิด ประกายไฟ และการรั่วซึม
Environmental Tests
- Heating Test: การทดสอบ Heating Test คือการวัดค่าความทนทานต่ออุณหภูมิที่ขึ้นสูงในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อตรวจสอบว่าเซลล์ของแบตเตอรี่จะไม่มีการระเบิด หรือประกายไฟเกิดขึ้น
- Temperature Cycling Test: คือการทดสอบโดยการนำแบตเตอรี่อยู่ในอุณภูมิใช้งานที่สูงกว่าอุณหภูมิปกติ และต่ำกว่าอุณหภูมิปกติ (อุณหภูมิปกติ ที่ 22 องศา) ในรอบการทดสอบที่กำหนดไว้ เพื่อตรวจสอบว่า เซลล์แบตเตอรี่ จะไม่มีการระเบิด มีประกายไฟ และการรั่วซึม
- Low Pressure Test: คือการวัดค่าความสามารถในการทนทานต่อสภาพภูมิอากาศที่แรงดันต่ำกว่าปกติ (อาทิเช่น เพื่อการตรวจสอบคุณภาพของแบตเตอรี่เมื่อนำขึ้นเครื่องบินและแรงดันลดต่ำกว่าปกติ) การที่จะผ่านมาตรฐานนี้ เซลล์แบตเตอรี่จะต้องไม่มีการรั่วซึม ระเบิด หรือมีประกาย
การตรวจสอบอื่นๆ สำหรับ แบตเตอรี่ ลิเทียม ไอออน
- Projectile(Fire) Test: เราจะทำการ test นี้ภายใต้มาตรฐาน UL1642 เพิ่มเติมที่กำหนดให้ แบตเตอรี่ ลิเทียม ไอออน ต้องมีการตรวจสอบค่าความทนทานของแบตเตอรี่ด้วยการเผาไฟจนระเบิด โดยการตรวจสอบนี้ จะทำการเอาตะแกรงลวด ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว วางรอบเซลล์แบตเตอรี่ มีช่องว่างระหว่างตะแกรง ช่องละ 25.4 mm หรือ 1 นิ้ว ด้วยขนาดลวด 0.42 mm. เพื่อการทดสอบว่า การระเบิดของแบตเตอรี จะต้องไม่ผ่านช่องตะแกรงดังกล่าวออกมา เป็นการจำกัดวงระเบิดของตัวเซลล์แบตเตอรี่
เงื่อนไขการรับประกันสินค้า
- ทางบริษัทจะทำการรับประกันสินค้า ระยะเวลา 1 ปีเต็ม นับจากวันที่จัดส่งสินค้า
- เราทำการรับประกันสินค้า โดยการเปลี่ยนใหม่ให้ทันที โดยไม่มีการซ่อมแซมหรือแก้ไขตัวแบตเตอรี่
- เราจะทำการรับประกันสินค้าเปลี่ยนใหม่ โดยระยะเวลาการรับประกันจากวันจัดส่งของครั้งแรกเท่านั้น